ภูริทตฺตธมฺโมวาท จากหนังสือภูริทตฺตมหาเถรานุสรณ์ เรื่อง “ต้นหาย กำไรสูญ “

paragraph__141_211

ต้นหาย กำไรสูญ เปรียบเสมือนคนเราบางคนที่ตั้งอกตั้งใจทำการทำงาน
จะประกอบการค้าขาย หรือทำกิจการงานอะไรก็ดี
ตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งเป็นหนุ่มเป็นสาว และแก่เฒ่าแก่ชราในที่สุด
และถึงพร้อมด้วยความร่ำรวยสมบูรณ์พูนสุข
สร้างบ้านสร้างเรือน สร้างหลักฐานได้อย่างมั่นคง
ตลอดจนสร้างเกียรติยศ สร้างชื่อเสียง จนได้ลาภได้ยศ
ได้สรรเสริญ ประสบความสำเร็จในชีวิตทางโลก ทุกสิ่งทุกอย่าง
แต่คนบางคนที่กล่าวถึงเหล่านี้ เมื่อถึงกาลเวลาอันสมควร
ซึ่งที่จริงก็เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับทรัพย์สมบัติในทางโลก
ที่ได้สร้างสมมามากแล้ว ก็ควรจะหยุด
เพื่อรีบสร้างสมสิ่งที่เป็น “อริยทรัพย์” ในบั้นปลายของชีวิต
ให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้บ้าง
แต่เขาเหล่านั้นก็หาได้มีความหยุด ความยั้ง ความละ
ความปล่อย ความวาง ในทรัพย์สมบัติที่หามาได้เหล่านั้นไม่
มุ่งหน้าที่จะคิดอ่านประกอบกิจการงาน ให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ
โดยไม่คำนึงถึงว่า สักวันหนึ่ง ไม่ช้าก็เร็ว ความตายก็จะต้องมาถึงเข้าอย่างแน่นอน
ในที่สุดร่างกายของเขาก็ถึงซึ่งความแตกดับจริงๆ และย่อยยับสูญหายไป
ละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนหามาได้ไว้ในโลกนี้ให้กับคนอื่นทั้งหมด
ไม่สามารถที่จะนำเอาทรัพย์สมบัติเหล่านั้นติดตามตนไปได้แม้แต่นิดเดียว
โดยที่ตนเองมิได้ประกอบคุณงามความดี
ในทางสร้างสมในสิ่งที่เป็นอริยทรัพย์ให้มากเท่าที่ควรเลย
ซึ่งตนเองก็มีโอกาสและโชคดีอย่างดีที่สุดแล้ว
แต่ก็มิได้กระทำลงไป จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่สุดในชีวิตของเขา
เปรียบเสมือน “ต้นหาย กำไรสูญ”
“ต้น” ก็คือร่างกายและทรัพย์สมบัติที่หามาได้ทั้งหมด
“กำไร” ก็คือบุญกุศลหรือสิ่งที่เป็นอริยทรัพย์
แทนที่จะได้ก็ไม่ได้ และถ้าใช้ทรัพย์สมบัติเหล่านั้นไปในทางที่ไม่ดี
ผิดศีลผิดธรรมอีกด้วยแล้ว หรือยึดในทรัพย์สมบัติที่หามาได้นั้นมากเกินไป
ก็ยิ่งจะขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ต้นก็หาย กำไรก็สูญ ชีวิตนี้ก็ขาดทุน
(ภูริทตฺตธมฺโมวาท จากหนังสือภูริทตฺตมหาเถรานุสรณ์)

ภูริทตฺตธมฺโมวาท จากหนังสือภูริทตฺตมหาเถรานุสรณ์ เรื่อง "ต้นหาย กำไรสูญ "








ต้นหาย กำไรสูญ เปรียบเสมือนคนเราบางคนที่ตั้งอกตั้งใจทำการทำงาน
จะประกอบการค้าขาย หรือทำกิจการงานอะไรก็ดี
ตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งเป็นหนุ่มเป็นสาว และแก่เฒ่าแก่ชราในที่สุด
และถึงพร้อมด้วยความร่ำรวยสมบูรณ์พูนสุข
สร้างบ้านสร้างเรือน สร้างหลักฐานได้อย่างมั่นคง
ตลอดจนสร้างเกียรติยศ สร้างชื่อเสียง จนได้ลาภได้ยศ
ได้สรรเสริญ ประสบความสำเร็จในชีวิตทางโลก ทุกสิ่งทุกอย่าง

แต่คนบางคนที่กล่าวถึงเหล่านี้ เมื่อถึงกาลเวลาอันสมควร
ซึ่งที่จริงก็เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับทรัพย์สมบัติในทางโลก
ที่ได้สร้างสมมามากแล้ว ก็ควรจะหยุด
เพื่อรีบสร้างสมสิ่งที่เป็น “อริยทรัพย์” ในบั้นปลายของชีวิต
ให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้บ้าง

แต่เขาเหล่านั้นก็หาได้มีความหยุด ความยั้ง ความละ 
ความปล่อย ความวาง ในทรัพย์สมบัติที่หามาได้เหล่านั้นไม่
มุ่งหน้าที่จะคิดอ่านประกอบกิจการงาน ให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ
โดยไม่คำนึงถึงว่า สักวันหนึ่ง ไม่ช้าก็เร็ว ความตายก็จะต้องมาถึงเข้าอย่างแน่นอน
ในที่สุดร่างกายของเขาก็ถึงซึ่งความแตกดับจริงๆ และย่อยยับสูญหายไป 
ละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนหามาได้ไว้ในโลกนี้ให้กับคนอื่นทั้งหมด
ไม่สามารถที่จะนำเอาทรัพย์สมบัติเหล่านั้นติดตามตนไปได้แม้แต่นิดเดียว

โดยที่ตนเองมิได้ประกอบคุณงามความดี
ในทางสร้างสมในสิ่งที่เป็นอริยทรัพย์ให้มากเท่าที่ควรเลย
ซึ่งตนเองก็มีโอกาสและโชคดีอย่างดีที่สุดแล้ว
แต่ก็มิได้กระทำลงไป จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่สุดในชีวิตของเขา
เปรียบเสมือน “ต้นหาย กำไรสูญ” 

“ต้น” ก็คือร่างกายและทรัพย์สมบัติที่หามาได้ทั้งหมด
“กำไร” ก็คือบุญกุศลหรือสิ่งที่เป็นอริยทรัพย์ 

แทนที่จะได้ก็ไม่ได้ และถ้าใช้ทรัพย์สมบัติเหล่านั้นไปในทางที่ไม่ดี 
ผิดศีลผิดธรรมอีกด้วยแล้ว หรือยึดในทรัพย์สมบัติที่หามาได้นั้นมากเกินไป
ก็ยิ่งจะขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ต้นก็หาย กำไรก็สูญ ชีวิตนี้ก็ขาดทุน 

(ภูริทตฺตธมฺโมวาท จากหนังสือภูริทตฺตมหาเถรานุสรณ์)

คติธรรมดีๆเรื่อง "ข้าวเปล่าหนึ่งถ้วย" อยากให้ทุกคนอ่าน


ค่ำวันหนึ่งเมื่อ20ปีที่แล้ว มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งท่าทางเหมือนนักศึกษากำลังลังเลอยู่หน้าร้านบุฟเฟต์แห่งหนึ่ง เมื่อลูกค้าส่วนมากออกจากร้านแล้ว เขาจึงเดินเข้าร้านมาด้วยอาการเขินอาย“ขอข้าวเปล่าถ้วยหนึ่ง ขอบคุณครับ ” เด็กหนุ่มก้มหน้าพูดเจ้าของร้านบุฟเฟต์เพิ่งเปิดใหม่เป็นเถ้าแก่หนุ่มสาวคู่หนึ่ง เห็นเด็กหนุ่มไม่เอากับข้าวก็รู้สึกสะท้อนใจ แต่ก็ไม่ได้ถามอะไร เขารีบตักข้าวพูนถ้วยส่งให้กับเด็กหนุ่มคนนั้นเด็กหนุ่มจ่ายเงินพร้อมกับพูดด้วยเสียงแผ่วเบาว่า
“ผมขอน้ำแกงราดบนข้าวสักหน่อยได้ไหมครับ?”“ตามสบายเลยค่ะ ไม่คิดตังค์” เถ้าแก่เนี้ยพูด
เขากินไปได้ครึ่งถ้วย ก็สั่งอีกถ้วยหนึ่ง“ไม่อิ่มใช่ไหม? ถ้วยนี้เดี๋ยวผมตักให้คุณมากหน่อย” เถ้าแก่พูดด้วยความเอาใจใส่“ไม่ใช่ครับ ผมเอาใส่กล่อง พรุ่งนี้จะเอาไปกินที่มหาลัยนะครับ”เมื่อเถ้าแก่ได้ยิน ก็เดาออกว่า เด็กหนุ่มคนนี้คงมาจากต่างจังหวัดในเขตภาคใต้เป็นแน่ ฐานะที่บ้านคงไม่สู้จะดีนัก เขาคงมาเรียนที่ไทเปคนเดียว และคงจะทำงานและก็เรียนไปด้วย ดูก็รู้ว่าเด็กคนนี้คงจะลำบากอยู่ไม่น้อยเขาจึงตักโร่วจ้าว(เนื้อเคี่ยวซอสสำหรับราดบนข้าว)ใส่ไว้ที่ใต้กล่องข้าว จากนั้นก็เอาไข่ตุ๋นชาใส่ไปหนึ่งฟอง จากนั้นจึงตักข้าวอัดไปเต็มกล่อง มองดูแล้วเหมือนไม่มีอะไรอยู่ในกล่องข้าว นอกเสียจากข้าวเปล่าเมื่อภรรยาของเขาเห็นดังนั้น ก็เข้าใจในสิ่งที่สามีกำลังทำว่าต้องการช่วยเหลือเด็กหนุ่มคนนี้ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่ราดโร่วจ้าวไว้บนข้าว จะใส่ไว้ใต้ข้าวทำไม?เถ้าแก่กระซิบบอกภรรยาว่า “เด็กผู้ชายรักศักดิ์ศรี หากเขาเห็นว่าบนข้าวมีโร่วจ้าวเขาอาจคิดว่าเราทำทานแก่เขา หากเป็นอย่างนี้ คราวหน้าเขาจะไม่กล้ามาอีก ถ้าเขาไปกินร้านอื่นก็ได้กินแต่ข้าวเปล่า แล้วจะเอาแรงที่ไหนไปเรียนหนังสือ !”“คุณเป็นคนดีจริงๆ จะช่วยเขายังกลัวเขาอายอีก”“หากผมไม่ดี คุณจะแต่งงานกับผมเหรอ! ” เถ้าแก่หนุ่มหยอกเย้าผู้เป็นภรรยา“ขอบคุณครับ ผมอิ่มแล้ว แล้วเจอกันใหม่ครับ” เด็กหนุ่มพูดจบก็หยิบข้าวกล่องแล้วเดินออกจากร้านไปเมื่อเด็กหนุ่มถือข้าวกล่องที่ดูหนักกว่าข้าวเปล่า ออกจากร้านไป ก็หันมายิ้มให้เจ้าของร้านทั้งสอง“สู้ๆนะ พรุ่งนี้พบกันใหม่” เถ้าแก่พูดและโบกมือให้กับเด็กหนุ่มคนนั้น ในคำพูดประโยคนั้นของเขาแฝงด้วยคำเชิญให้เด็กหนุ่มมากินข้าวที่นี่ใหม่ในวันพรุ่งนี้เด็กหนุ่มน้ำตาคลอ ไม่กล้าหันไปมองเจ้าของร้าน กลัวว่าน้ำตาจะร่วงให้เขาทั้งสองเห็นจากนั้นเป็นต้นมา

นอกจากว่าเป็นช่วงปิดเทอม พลบค่ำของทุกวัน เด็กหนุ่มก็จะมากินข้าวที่ร้าน เขาสั่งข้าวเปล่าหนึ่งถ้วยและข้าวเปล่าหนึ่งกล่องเอากลับบ้าน และใต้กล่องข้าวก็จะมีอาหารที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน จนเด็กหนุ่มเรียนจบปริญญาตรี
ผ่านมา20ปีแล้ว ที่ร้านบุฟเฟต์แห่งนี้ไม่ได้ต้อนรับลูกค้าคนพิเศษคนนี้อีกเลยอยู่ๆ ทางการก็ส่งจดหมายมาบอกว่าจะทำการเวนคืนที่และร้านของเขาก็เป็นหนึ่งในนั้น
สองสามีภรรยาอายุใกล้จะ50ปี เมื่อรู้ข่าวนี้ต่างก็กลัดกลุ้มใจ ชีวิตต่อไปข้างหน้าจะทำอย่างไร เงินทองที่จะได้จากทางการก็ไม่เพียงพอกับการจัดซื้อบ้านที่มีทำเลดีอย่างนี้ได้อีก แล้วลูกๆที่กำลังเรียนอยู่จะหาค่าเทอมมาจากไหน? ต่างก็กอดกันร้องไห้ไม่รู้จะจัดการกับชีวิตอย่างไรดี
เช้าวันหนึ่ง ชายคนหนึ่งแต่งกายภูมิฐานเข้ามาหาสองสามีภรรยา
“สวัสดีครับคุณทั้งสอง ผมเป็นรองผู้จัดการบริษัท... ผู้จัดการใหญ่ของเราต้องการให้คุณเข้าไปทำร้านอาหารบุฟเฟต์ในบริษัทของเรา
ที่กำลังจะทำการเปิดใหม่ในเร็วๆนี้ เรื่องค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งและอุปกรณ์ต่างๆ ค่าวัสดุในการทำอาหารทางเราจะเป็นผู้รับผิดชอบ ขอเพียงคุณจัดหากุ๊กปรุงอาหารและบริหารงานก็พอ ส่วนกำไรแบ่งครึ่งกับบริษัทของเรา”ผู้จัดการใหญ่ของบริษัทเป็นใครกัน? ทำไมเขาถึงดีกับเราอย่างนี้? เราไม่เคยรู้จักผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมเลยสักคนเดียว? สองสามีภรรยาต่างทำหน้างงๆ“คุณทั้งสองเป็นผู้มีพระคุณของผู้จัดการใหญ่ของเรา ท่านบอกว่าท่านชอบกินไข่ตุ๋นชาและโร่วจ้าวของร้านคุณมาก รายละเอียดผมทราบเพียงแค่นี้ นอกเหนือจากนี้คุณคงจะทราบได้เองเมื่อได้เจอกับผู้จัดการใหญ่ของเรา”เมื่อเดินทางไปถึงบริษัท สองสามีภรรยาจึงรู้ว่า ผู้จัดการใหญ่ของบริษัทนี้ก็คือเด็กหนุ่มที่มากินข้าวเปล่ายามพลบค่ำทุกวันนั่นเอง หลังจากจบมหาวิทยาลัย เขาก็มุมานะสร้างเนื้อสร้างตัวจนสามารถเปิดบริษัทแห่งนี้ได้ เขาสำนึกบุญคุณข้าวเปล่าที่สองสามีภรรยาให้เขากินตลอดเวลาที่เรียนมหาวิทยาลัย หากไม่มีสองสามีภรรยาช่วยเหลือเขาในตอนนั้น เขาคงลำบากและไม่สามารถเรียนจนจบได้เรื่องราวก่อนเก่าแต่หนหลังถูกรื้อฟื้นขึ้นในวงสนทนาเคล้าเสียงหัวเราะและน้ำตา เมื่อถึงเวลาที่สองสามีภรรยาจะลากลับ ชายหนุ่มยืนขึ้นโค้งคำนับพร้อมกับพูดว่า“สู้ๆนะครับ ต่อไปนี้บริษัทของเราต้องพึ่งพาคุณแล้วนะ พรุ่งนี้พบกันใหม่”

เรื่อง ครูบาศรีวิชัยสมัยพุทธกาลนั้นใช้ชาติเป็นช้างป่าเลไลย์


ท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) เล่าให้ฟังว่า...
“ ครูบาศรีวิชัยท่านเทศน์น้อย แต่รู้จักความนึกคิดของผู้คน รู้ได้ใกล้ไกล เจริญแต่คาถาอิติปิโสฯอยู่เป็นนิจ ทีแรกครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) จะสอนวิปัสสนากรรมฐานบอกอุบายธรรมให้แต่เมื่อท่านเจ้าคุณพระอุปัชฌาย์ท่านให้พิจารณาจึงรู้ได้ว่า ยังไม่อาจที่จะบรรลุมรรคผลได้ แต่จักได้ด้วยตนของครูบาเจ้าเอง เป็นอิติปิโสฯ ได้เอง ”
...“ พวกยางปะเก่อ พวกมูเซอ คนภูเขา แห่กันมาทำบุญกับครูบาศรีวิไชย เอาเงินเหรียญใส่กระบอกไม้ไผ่ไม้เฮี้ยะ เต็มกระบอกอัดปากกระบอก แล้วเอามาถวายครูบาศรีวิไชย
“ พวกสูแบกอะไรมา”
“ กระบอกเงิน”
“ เอามาดูดู๊”
พวกเขาเปิดปากกระบอกออกแล้วก็เทเป็นกองๆ
“ เอามาถวายบูชาครูบาเจ้าตนบุญของหมู่ตูข้า สุดแท้แต่จะทำอันใด”
ครูบาศรีวิไชย เป็นพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญมาอย่างรวยอุตมลาภชาติชีวิตนี้ไปไหนมาไหนก็มีผู้คนแห่แหนเอาเงินเอาปัจจัยทั้ง ๔ มาทำบุญให้ทาน เพิ่นก็เอาไปสร้างวัดได้หลายร้อยวัด ทั้งบูรณปฏิสังขรณ์และทำขึ้นมาใหม่ก่อสร้างร่างแปลน
แต่เช้าจนค่ำคืน นั่งปันพรให้แก่ผู้เอาเงินมาให้ถวายทาน
เทศน์ธรรมก็บอกแต่ว่า “ ให้สวดท่องอิติปิโส” สอนผู้คนชาวบ้านให้ถือศาสนารักษาศีล ๕ ศีล ๘ สอนคนก็สอนจี้ลงไปที่ใจ เพิ่นภาวนาเก่ง รู้ใจผู้คนหลายอย่าง ตายแล้วยังลุกขึ้นมาสร้างสะพานข้ามปิงได้แล้วเสร็จ
พระภาคเหนือรังเกียจเพิ่นมาก แต่พอเพิ่นจากไปตุ๊คนใด๋ก็อ้างว่า
“ข้าลูกศิษย์ครูบ๋าเจ้า”
“ข้าก็ลูกศิษย์ครูบ๋าเจ้า”
ในสมัยพุทธกาลนั้นใช้ชาติเป็นช้างป่าเลไลย์ ปฏิบัติองค์พระพุทธเจ้าตลอดพรรษา ออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าลาออกจากป่า ก็หัวใจสลายวายตายเกิดเป็นเทพบุตรบนสวรรค์
แล้วมาเกิดเป็นครูบาศรีวิไชย เมืองลำพูน”
ธรรมะประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญโญ

ทำบุญ แล้วคุณได้อะไร?








เมื่อพูดถึง การทำบุญ แน่นอนหลายคนคิดถึง ศาสนาพุทธ (ความจริงแล้วทุกศาสนาก็มีการทำบุญเช่นกัน)

การทำบุญในพุทธศาสนา ในทางปฏิบัติจริง ถ้ามองดูถึงความรู้สึกของการทำบุญของแต่ละคน ย่อมแตกต่างกัน เพราะการมองแก่นของศาสนาพุทธ ก็ไม่เท่ากัน บางคนเข้าใจไปอย่างหลากหลายความคิด ก็เปรียบเสมือน บัวสี่เหล่า ในศาสนาพุทธ

เมื่อมองการทำบุญในพุทธศาสนา คนจำนวนหนึ่งก็ทำเพราะเป็นวิธีปฏิบัติเท่านั้น แต่หาได้เข้าถึงแก่นศาสนาไม่ ที่ผมพบบ่อยคือ เค้าให้งดการนินทาในวันบุญใหญ่ ก็ปฏิบัติตาม บ้างก็ปล่อยปลา ตามความเชื่อพื้นฐาน แต่หาได้ขัดเกลาจิตใจตัวเองได้เลย หลังจากวันบุญใหญ่ผ่านไป ก็ปฏิบัติตัวเหมือนเดิม จิตเมตตาไม่ได้เกิดในจิต

วันทำบุญในทางพุทธศาสนา เป็นแต่เพียงวาระปฏิบัติ เพื่อให้คนได้เข้าวัด ทำบุญ จริงหรือไม่ ถ้ารูปแบบการปฏิบัติไม่สามารถเข้าซึมลึกเข้าไปในจิตใจคนไทย ถ้ามองดูรอบกายเรา โดยที่เรามักบอกเสมอว่า บ้านเราเป็นเมืองพุทธ แต่คนในชาติหาได้ปฏิบัติด้วยจิตแห่งพุทธไม่ การเข้าถึงแก่นพุทธศาสนาดูจะลางเลือนลงไปทุกที

บางคนก็ว่า ก็ด้วยพระสงฆ์ทำตัวไม่ดี หรือความหลากหลายในประเทศเรามันเยอะซะจน คนหลงไหลไปกับเรื่อง ปาฏิหารย์ มากกว่า วิถีธรรม

แต่ถ้ามองในอีกมุมของการทำบุญ เหมือนว่า คนหมกมุ่นกับ อดีต และอนาคต บางคนมุ่งหวังทำบุญเพื่อล้างกรรมในอดีต บางคนทำบุญเพื่อผลบุญในโลกอนาคต มันจริงหรือที่พระพุทธเจ้าตรัสให้นึกถึงกรรมในอดีต หรือไปยึดติดกับผลบุญในอนาคต หรือจิตควรอยู่ ณ. ปัจจุบัน

การทำบุญ เพื่อให้ได้เนื้อนาบุญ อย่างแท้จริงในสังคมปัจจุบัน ดูด้อยค่าลงไปเยอะ เพราะผู้คนมีเวลาน้อยลง ต้องใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ ประกอบกับมีกิเลสติดให้ทำมากขึ้น ไม่ว่าจะ แช็ท แชร์ กดไลค์ การเข้าถึงแก่นศาสนาน้อยลง ชีวิตไม่เป็นสุข ทุกข์มาก ถึงเวลาวันทำบุญใหญ่ ก็ทำเป็นเพียงพิธีไป หาได้ใส่ใจ มีดีกว่านั้นยังเอารูปทำบุญไปให้ชาวบ้านกดไลค์!

สรุปเลยดีกว่า ว่าการทำบุญ ในวันบุญใหญ่ คือการละกิเลสทั้งปวง เพื่อขัดเกลาจิตใจตัวเองให้ผ่อนลง อะไรที่เคยยึดติดแล้วมันทำให้ชีวิตต้องทุกข์ ก็ควรจะ ละ เลิก พยายามปฏิบัติให้อยู่ในทางสายกลาง แล้วชีวิตจะเป็นสุข

ชมวัดอนาลโยทิพยาราม วัดงามเมืองพะเยาบนดอยบุษราคัม








เมื่อนึกถึงจังหวัดพะเยาผมคิดว่าหลายคนคงไม่ค่อยได้มาเที่ยวที่จังหวัดพะเยาซะเท่าไหร่ ส่วนมากจะเป็นทางผ่านไปเชียงรายซะมากกว่า พะเยาเป็นจังหวัดเงียบๆที่น่าอยู่ น่าไปเที่ยวอีกจังหวัดนึงเลยครับ ผมพูดแบบนี้คงพอจะเดาได้แล้วใช่ไหมครับว่าวันนี้ผมจะพาไปเที่ยวที่ไหน ผมจะพาไปเที่ยว วัดอนาลโยทิพยาราม หรือเรียกสั้นๆว่า วัดอนาลโย



วัดอนาลโยเป็นวัดที่อยู่บน ดอยบุษราคัม จังหวัดพะเยา การเดินทางก็สามารถขับรถเก๋งหรือมอเตอร์ไซด์ไปได้ครับ ถนนดี ทางขึ้นไม่ชัน ผมเองก็ไปด้วยเจ้า Vios วิ่งจากเชียงรายลงมา แต่จำทางไม่ค่อยได้เนื่องจากน้าคอยบอกทางให้

เมื่อถึงวัดจะมีลานให้จอดรถ จอดเสร็จมีเด็กหนุ่มมาเก็บเงินค่าจอดรถ 20 บาท ดูแล้วก็งงๆ จะว่าเจ้าหน้าที่ก็ไม่ใช่ ดูยังเด็กอยู่ แต่ถ้าเงินค่าจอดรถเป็นรายได้เข้าวัดผมก็ยินดีครับ แต่ถ้าจะเข้ากระเป๋าใครคนใดคนหนึ่งก็เสียดายเงิน ก็ว่าไปเรื่อยละครับถึงบ่นก็จ่าย
มาถึงทางขึ้นวัดกันจะเป็นบันไดยาวหลายขั้นเลย ถ้าให้เปรียบเทียบกับวัดพระธาตุดอยสุเทพผมว่าวัดอนาลโยหลายขั้นมากกว่า จริงๆแล้วมีทางขึ้นสำหรับรถยนต์ด้วย แต่ค่อนข้างชัน ถ้ามีคนสูงอายุมาด้วยก็นั่งรถสองแถวขึ้นมาข้างบนวัดก็ได้ครับ


พอเดินขึ้นบันไดมาเรื่อยๆจะเห็นวิวด้านล่างสวยดีครับ ลองสังเกตุดูรูปปั้น พระพุทธรูปที่นี่จะเป็นแนวศิลปะสุโขทัยดูแล้วคล้ายๆวัดเก่า แต่จากการศึกษาประวัติของวัด วัดเริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี 2525 ก็มีอายุ 27 ปีได้



เมื่อขึ้นถึงตัววัดก็เหนื่อยใช้ได้เลย เห็นเค้ามุงอะไรกันเลยเข้ามาดูซักหน่อย วงที่เห็นในรูปจะแบ่งเป็นปีเกิด เค้าบอกว่าให้อธิษฐานแล้วเอาเหรียญมาตั้งในปีที่ตัวเองเกิด ถ้าตั้งได้จะมีความเชื่อว่าคำอธิษฐานนั้นจะเป็นจริง แนะนำว่าเหรียญใหญ่ตั้งง่ายกว่าเหรียญเล็กครับ

ผมจะขอเล่าถึงประวัติของวัดอนาลโยไว้ประดับความรู้ซักเล็กน้อยนะครับ

วัดอนาลโย ดอยบุษราคัม ตั้งอยู่ที่ ม.สันป่าบง ต.สันป่าม่วง อ.เมือง จ.พะเยา มีพื้นที่ทั้งหมด 2500 ไร่ ได้เริ่มก่อสร้างโดย พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโล ขณะท่านอยู่วัดรัตนวนาราม ท่านเห็นแสงของทรายทองอยู่อีกฟากหนึ่งของกว๊านพะเยาซึ่งเป็นดอยบุษราคัมนั่นเอง หลังจากนั้นก็ได้สร้างเป็นที่พักปฏิบัติธรรม และสร้างสิ่งต่างเพิ่มขึ้นมา

แต่ต่อมาก็มีปัญหาสำคัญคือการขาดแคลนน้ำ ต่อมาท่านพระอาจารย์ไพบูลย์ได้รับอาราธนานิมนต์ไปเจริญพระพุทธมนต์ ณ พระบรมมหาราชวัง ในหลวงท่านได้ให้กรมชลประทานเข้าช่วยเหลือ กรมชลประทานได้สร้างอ่างเก็บน้ำแม่ต๋อมและอ่างเก็บน้ำห้วยทับช้าง เผื่อไว้ใช้ในสำนักสงฆ์และให้ชาวบ้านในระแวกนั้นได้ใช้ ซึ่งนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นที่สุด

ในวันที่ 20 มกราคม 2530 กระทรวงศึกษาธิดารและมหาเถรสมาคมได้อนาญาตให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์

เมื่อขึ้นมาถึงวัดแล้วไม่จบแค่นั้นนะครับวัดมีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง ผมจะพาไปชมภายในวัดครับ



รูปปั้นน้ำพุเล็กๆ



พระพุทธรูปปางนาคปรก



พระพุทธรูปขนาดใหญ่





เข้าไปข้างในศาลากัน



เมื่อมองออกมาจากระเบียงศาลาข้างบนจะเห็นวิวสวยๆแบบนี้ ที่เห็นลิบๆสุดสายตานั่นคือ กว๊านพะเยา ครับ เสียดายช่วงนี้แล้งไปหน่อยเลยไม่เห็นนาเป็นสีเขียว ตรงนี้วิวสวยและลมเย็นมากเลย เดินมาเหนื่อยๆอย่าลืมมารับลม ชมวิวตรงนี้นะครับ

ออกจากศาลาไปเข้าชมหอพระแก้วมรกตจำลอง



พระแก้วมรกตจำลองในกระจกทำด้วยทองคำครับ



หลังจากเราเดินจนทั่วทั่งวัด ได้เห็นถึงความสวยงามของวัดและวิวเมืองพะเยา วันนี้ผมต้องเปลี่ยนความคิดแล้วครับ จังหวัดพะเยาก็มีของดีอยู่หลายอย่าง ไม่ใช่แต่ทางผ่านไปเที่ยวเชียงรายอีกต่อไปแล้ว ทริปหน้าถ้าเป็นไปได้ผมตั้งใจว่าอยากไปภูลังกาที่พะเยาจัง ชักหลงรักพะเยาแล้ว

การเดินทางทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 มุ่งหน้าไปทางแม่สาย-เชียงราย เลยจากตัวเมืองพะเยา(กว๊านพะเยา)ไปประมาณ 20 เมตร เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1127-1193 อีก 9 กิโลเมตร

ที่มา http://www.folktravel.com/archive/wat-ananlayo-09.html

การฝึกสมาธิตามแนว พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ


การฝึกสมาธิตามแนว........พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
การทำสมาธิเบื้องต้น ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ ทำวัตรสวดมนต์บูชาพระ เจริญพรหมวิหาร และสมาทานกรรมฐาน เดินสมาธิ / เดินจงกรม

การเดินสมาธิ หรือเดินจงกรม เหมาะสำหรับคนที่มักมีความคิดฟุ้งมาก พระพุทธองค์กล่าวว่า ประโยชน์ของการเดินจงกรมมีดังนี้คือ

ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย
ทำให้ขาแข็งแรงเดินได้ทนและไกล
  เมื่อทำหลังอาหารทำให้อาหารย่อยง่าย
  สมาธิที่ได้จากการเดินจงกรมจะอยู่ได้นาน
วิธีเดินจงกรม เลือกสถานที่ยาวประมาณ ๕ เมตร ถึง ๑๐ เมตร แล้วแต่ความกว้างของสถานที่ และความรู้สึกพอดี บางทียาวนัก ก็ไม่ดี เหนื่อย บางครั้งสั้นไปก็ทำให้เวียนหัว หันหน้าไปทางเดินจงกรม แต่อย่ามองไกลเกินไป มองทอดสายตาดู ไปข้างหน้าประมาณ ๔   ก้าวเพื่อไม่ให้จิตใจวอกแวก แต่ไม่ใกล้เกินไป จนรู้สึกปวดต้นคอ มือซ้ายมาวางที่หน้าท้องและมือขวามาวางทับ เพื่อป้องกันแขนแกว่งขณะเดิน และดูสวยงาม เมื่อได้ท่าที่พอดีแล้วก็เดินก้าวขาขวาไป ก็นึกคำว่า "พุท" และเมื่อก้าวขาซ้ายไปก็นึก   คำว่า "โธ" เวลาเดินไม่หลับตาแต่ให้ลืมตา และกำหนดสัมผัสของเท้าที่ก้าวเหยียบลงพื้น เดินว่าพุทโธไปเรื่อย พอถึงปลายทาง เดินก็หยุดนิดหนึ่ง แล้วก็หันกลับด้านขวามือ   มาทางเดิม และเดินว่าพุทโธต่อไป อย่าเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป กำหนดจิตของเราอยู่ที่ก้าวเดินและคำภาวนา ไม่ให้จิตวอกแวก
** สิ่งสำคัญคือ   การกำหนดจิตให้ทันการเคลื่อนไหว ส่วนการเดินเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น เราควรทำอย่างน้อย ๓๐ นาที และจะดีมากขึ้นถ้าตามด้วยการนั่งสมาธิ เพราะการเดินจงกรม เป็นการเปลี่ยน อริยาบท ปล่อยอารมณ์ และเตรียมร่างกายให้พร้อมสู่การนั่งสมาธิ
อิริยาบถนั่งสมาธิ
นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางลงบนตัก ตั้งกายตรง (ไม่นั่งก้มหน้า ไม่นั่งเงยหน้า ไม่นั่งเอียงซ้าย ไม่เอียงขวา ไม่โยกหน้า ไม่โยกหลัง) ไม่กดและข่มอวัยวะในร่างกาย วางกายให้สบาย ๆ ตั้งจิตให้ตรง ลงตรงหน้า กำหนรู้ซึ่งจิตเฉพาะหน้า ไม่ส่งจิตให้ฟุ้งซ่าน ไปในเบื้องหน้า-เบื้องหลัง(อนาคตและอดีต) พึงเป็นผู้มีสติ กำหนดจิตรวมเข้าตั้งไว้ในจิต บริกรรม พุทโธ” จนกว่าจะเป็นเอกัคคตาจิต